ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และผู้บริหารมคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ได้ให้การต้อนรับ รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานกลุ่มวิจัยสื่อสารเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้าวเครือข่ายในการสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุ
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ผศ.ดร.พรรณี คอนจอหอ รองอธิการบดีฯ อ.ดร.เมธาวิน สาระยาน ผู้ช่วยอธิการบดีฯ ผศ.ดร.วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย คณบดีฯ และผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ให้การต้อนรับ รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานกลุ่มวิจัยสื่อสารเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้าวเครือข่ายในการสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุในท้องถิ่น เป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากโรงเรียนผู้สูงอายุนำร่อง หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ และเครื่องมือแอพพลิเคชั่น STAAS เข้ากับพื้นที่ภูมิภาคตะวันตก และเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันในการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการและงานวิจัยต่อไป
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมและจัดทำฐานข้อมูลคลังข้อสอบวัดความรู้เพื่อการสอบใบประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขศาสตร์ สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่า
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมและจัดทำฐานข้อมูลคลังข้อสอบวัดความรู้เพื่อการสอบใบประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขศาสตร์ สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 80 คน ในวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผ่านระบบชั้นเรียน ออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting ได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดีในการพูดคุยและให้กำลังใจกับนักศึกษา กล่าวเปิดงานโดยท่านรองอธิการบดี ดร.มนัญญา ปิริยวิชญภักดี ขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่สละเวลามาบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาและศิษย์เก่า ได้แก่
1.ท่านอาจารย์ ดร. จิรนันท์ ตุลชาติ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
2.อาจารย์เพ็ญวิภา นิลเนตร ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 6 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
3. อาจารย์พิทยา ศรีเมือง ตำแหน่ง วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น
4. รองศาสตราจารย์ ดร. วรพจน์ พรหมสัตยพร ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไปฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5.อาจารย์ ดร.กันยารัตน์ กุยสุวรรณ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
6. อาจารย์ ดร.พุทธิไกร ประมวล ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดารัตน์ ไชยเฉลิม ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
จัดกิจกรรมมีทแอนด์กรี๊ดไทม์
(Meet and Create Time: Online)
วันที่ 8 ธันวาคม 2564 คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ จัดกิจกรรมมีทแอนด์กรี๊ดไทม์ (Meet and Create Time: Online) อาจารย์ประจำชั้น&อาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม พบนักศึกษา เวลา 15.30-16.00 น. เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
กิจกรรม“PBRU Herb Fight Covid
แปรรูปยาสมุนไพรสู้ภัยโควิด”
วันศุกร์ ที่ 12 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ณ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรม “PBRU Herb Fight Covid แปรรูปยาสมุนไพรสู้ภัยโควิด” ครั้งที่ 1 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ณ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อแปรรูปยาแคปซูลสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นการบูรณาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาใช้ในการบริการวิชาการในชุมชน กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมในระยะที่ 2 ซึ่งต่อเนื่องจากโครงการแปลงสมุนไพร ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว (Green and Clean University) ที่ได้ดำเนินการเตรียมแปลงปลูกสมุนไพร การเสริมความรู้การปลูกสมุนไพร กิจกรรมปลูกสมุนไพร ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ปลูกเป็นสมุนไพรรักษาโรคที่มีความจำเป็น และเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างในปัจจุบันนี้
กิจกรรม“PBRU Herb Fight Covid แปรรูปยาสมุนไพรสู้ภัยโควิด” ครั้งนี้จะมีการแปรรูปยาแคปซูลสมุนไพรฟ้าทะลายโจรผง 30 กิโลกรัม และมีการบันทึกวิดีโอสอนการแปรรูปยาแคปซูลสมุนไพร เพื่อใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาและเป็นการบริการวิชาการแก่ประชาชนในชุมชน และโรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบุรี ต่อไป
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ผศ.ดร.วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มอบหมายให้อาจารย์สัณฐิตาพร กลิ่นทอง และอาจารย์ณฐกร นิลเนตร เป็นตัวแทนในการรายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและรายได้ชุมชนฐานรากบนการพัฒนาต้นแบบศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมผู้สูงอายุตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ปีงบประมาณ 2564 แก่นายกเทศมนตรี ผู้บริหารเทศบาลตำบลหัวสะพาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวสะพาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังตะโก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานศูนย์สุขภาพเด็กเล็กต้นแบบ (แบบ online จากสถานการณ์โควิด-19) ณ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุไรรัตน์ กีบาง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาบรรยายให้ความรู้และประสบการณ์นอกชั้นเรียนแก่นักศึกษา โดยการเรียนรู้นอกชั้นเรียนดังกล่าว สามารถส่งเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้และการคิดในระดับสูงซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอขอบพระคุณท่านวิทยากร ท่านคณบดีและทีมบริหาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการศึกษาดูงานศูนย์สุขภาพเด็กเล็กต้นแบบในครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีและบรรลุตามเป้าหมายทุกประการ